ศิลปะกับการจัดอาหาร

ศิลปะกับการจัดอาหาร

เรื่องของ ศิลปะ เข้ามาปะปนกับการใช้ชีวิตเราทุกวัน ไม่เพียงแต่บทเรียน หรือเสื้อผ้า เครื่องประดับที่สวมใส่เท่านั้น แต่ศิลปะเข้าไปรวมอยู่ในอาหารการกิน และสิ่งอื่น ๆ รอบตัวเราด้วย อย่างเวลาเราจะเลือกรับประทานอาหารสักร้าน

หรือต้องการเมนูเด็ดสำหรับถ่ายภาพอวดลงโซเชี่ยว เราก็ต้องเลือกร้านอาหารที่จัดจานสวยงาม ดูน่ารับประทานเป็น บทความเกี่ยวกับศิลปะในวันนี้ จึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะการจัดอาหาร ว่าควรทำอย่างไรให้ดูน่ารับประทาน พร้อมแล้วไปดูกันเลย

ศิลปะ กับการจัดอาหาร

1. ขนาดและสัดส่วน (Size and Proportion)

ขนาดและสัดส่วน หรือ Size and Proportion เป็นศิลปะการจัดอาหาร หรือจัดจานอย่างแรก ที่ท่านต้องคำนึงถึง เพราะการจัดอาหาร ขนาดและสัดส่วนที่นำมาคำนวณในภาชนะมีส่วนสำคัญมาก ๆ หากภาชนะมีขนาดเล็ก อาหารในจานควรมีปริมาณที่พอดี ไม่มากจนล้นหรือเลอะออกมานอกภาชนะเด็ดขาด

เพราะจะทำให้อาหารจานั้นไม่น่ารับประทาน ในการจัดอาหารบนโต๊ะ หากโต๊ะมีขนาดเล็กภาชนะที่ใช้ควรมีสัดส่วนที่พอเหมาะไม่ใหญ่จนแน่นโต๊ะ หรือเล็กจนตักอาหารไม่ถนัด นี่คือหลักการพื้นฐาน ที่ศิลปะเข้ามาช่วยทำให้อาหารน่ารับประทาน

2. ความกลมกลืน (Harmony)

ความกลมกลืน หรือ Harmony ความกลมกลืนในการจัดอาหาร หรือจัดจานก่อนเสิร์ฟบนโต๊ะ เป็นอีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เด็ดขาด ภาชนะอาหารควรเหมาะสมและกลมกลืนกับภาชนะ อย่างเช่นอาหารประเภททอดควรใส่ในจาน

หรืออาหารประเภทน้ำควรใส่ในชาม นอกจากนี้ผลไม้ควรใส่ตะกร้าหรือถาดไม้จะเหมาะสมกว่าใส่ในถาดโลหะ หากท่านจัดจานให้มีความกลมกลืน อาหารของท่านก็จะน่ารับประทานเพิ่มขึ้น

ศิลปะกับการจัดอาหาร

3. การตัดกัน (Contrast)

ศิลปะในการตัดกันของการจัดอาหาร ถือเป็นศาสตร์เกี่ยวกับศิลปะอีกอย่าง ที่มองข้ามไม่ได้เด็ดขาด ซึ่งวิธีการทำ สามารถทำได้โดยการตัดกันระหว่างการตกแต่งโต๊ะอาหาร และสีของอาหารหรือการตกแต่งอาหาร

แต่ในการตัดกันไม่ควรตัดกันในปริมาณที่มาก เพราะจะทำให้ขาดความน่าสนใจ หรือไม่ก็ไปเปลี่ยนจุดโฟกัสของอาหารมากเกินความจำเป็น ในปัจจุบันการจัดตกแต่งโต๊ะอาหารนิยมจัดดอกไม้ให้สูงเกินมาตรฐานการจัด

เพื่อสร้างความสนใจและความโดดเด่นของบรรยากาศ แต่ควรจัดในปริมาที่พอดี อย่าให้รกจนเกินไป เพราะอาจจะขัดการสนทนาแบบเห็นหน้ากันของคนบนโต๊ะได้ ส่วนสีของอาหารหรือการตกแต่งอาหารสามารถตัดกันได้ตามความเหมาะสม แต่อย่าตัดล้นจนเกินงามเด็ดขาด

4. เอกภาพ (Unity)

เอกภาพในการจัดอาหาร ทำได้โดยการรวมกลุ่มของการจัดโต๊ะอาหาร เช่น การจัดจาน ช้อนส้อม หรือชุดอาหารเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ได้อย่างสะดวกและเหมาะสมกับอาหารที่จัดนั้น ๆ ส่วนการจัดอาหารในจานควรจัดให้พอเหมาะไม่กระจายจนยากต่อการรับประทาน

หากเป็นอาหารที่มีเครื่องปรุงเป็นส่วนประกอบ ท่านควรจัดให้อยู่ถาดเสิร์ฟพร้อมกัน เพื่อความสะดวกในการรับประทาน และความสะดวกในการทำความสะอาดของผู้ให้บริการ

5. การซ้ำ (Repetition)

การซ้ำบางท่านอาจจะงง ว่าเข้ามาเกี่ยวกับเรื่ออาหารหรือการจัดจานอย่างไร ซึ่งความจริงแล้วการซ้ำเป็นการทำในลักษณะเดิม เช่น การตกแต่งของจานด้วยลักษณะซ้ำกันแบบเดิมอย่างมีจังหวะ

ได้แก่ การวางแตงกวาเรียงรอบขอบจาน เพื่อเน้นการจัดอาหารให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น แบบที่เราเห็นกันบ่อย ๆ ตามร้านอาหารชั้นนำ หรือเวลาไปรับประทานอาหารในโรงแรม 5 ดาว เป็นต้น

6. ความสมดุล (Balance)

ความสมดุล เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการจัดอาหาร หรือจัดโต๊ะอาหาร เพราะความสมดุลจะช่วยให้พื้นที่จัดมีน้ำหนักในการจัดวางอย่างลงตัว ไม่หนาแน่นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ทำให้ง่ายต่อการใช้สอยและงดงามต่อการมองเห็น

การจัดอาหารในงานเลี้ยง พื้นที่จัดไม่ควรอยู่รวมกันเพราะจะทำให้เกิดความหนาแน่นของพื้นที่ ควรกระจายพื้นที่ในการจัดให้สมดุล โต๊ะวางอาหารควรอยู่ในบริเวณที่มีพื้นที่กว้างเพื่อสะดวกต่อการตัดอาหารขนม หวานหรือผลไม้ควรแยกออกไปอีกบริเวณหนึ่ง

เพื่อสร้างความสมดุลยของพื้นที่ นอกจากนี้การจัดอาหารในจานควรคำนึงถึงความสมดุลเช่นกัน เพราะความสมดุลจะทำ ให้อาหารในจานดูเหมาะสม น่ารับประทาน และสะดุดตาผู้พบเห็นมากกว่าเดิมนั่นเอง

7. สี (Color)

สีถือเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งของอาหาร ว่ากันว่าหากอยากให้อาหารน่ากิน ต้อวเริ่มจากการทำสีสันของอาหารให้น่ากินก่อน ซึ่งการใช้สีตกแต่งอาหารเป็นเรื่องง่ายกว่าการใช้สีตกแต่งในเรื่องอื่น ๆ

เพราะอาหารในแต่ละอย่างจะมีสีสันในตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาหารไทย ที่มีเครื่องเทศเป็นตัวช่วยเพิ่มสีสันอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นแกงเขียวหวานสีเขียวอ่อน แกงเผ็ดสีส้ม หรือแกงเลียงสีเขียว การใช้สีตกแต่งอาหารเพียงเพื่อต้องการให้อาหารเกิดความน่ารับประทาน และสร้างจุดเด่นของอาหาร

ดังนั้นการใช้สีตกแต่งอาหาร จึงควรใช้สีจากธรรมชาติ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค เช่น สีเขียวจากใบเตย สีม่วงหรือสีน้ำเงินจากดอกอัญชัน หรือสีเหลืองจากฟักทองหรือขมิ้น เป็นต้น หากอาหารของท่านอร่อยแบบต้นตำหรับชาววัง แต่สีของอาหารจืดชืด ดูไม่น่ารับประทาน รสชาติของอาหารท่านก็จะไม่มีคนให้ความสำคัญ ฉะนั้น เรื่องการเติมสีในอาหาร จึงเป็นเรื่องที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด

ศิลปะกับการจัดอาหาร

เห็นไหมคะ ว่าศิลปะเข้าไปอยู่ในการใช้ชีวิตของมนุษย์มากมายจริง ๆ แม้แต่เรื่องของอาหารและการจัดจาน ยังมีเรื่องของศิลปะเข้ามาร่วมด้วยอย่างไม่น่าเชื่อ

มาเที่ยวที่ จุดชมวิวทะเลหมอก ที่คุณไม่ควรจะพลาดเพราะความสวยงามของมันไม่แพ้ใคร แล้วเราก็ยังมี 7 ที่เที่ยวในไทย ที่ไม่ไปถือว่าพลาด เป็นที่ที่น่าไปพักผ่อนมากๆ